พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
๙๙๙ พระหลวงพ่อ...
๙๙๙ พระหลวงพ่อเนียม พิมพ์เศียรโล้น วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ๙๙๙
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านเป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด บิดาเป็นชาวบ้านซ่อง ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาเป็นชาวบ้านป่าพฤกษ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ชื่อว่า เนื่อง หลวงพ่อเนียมมีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันหลายคน แต่ไม่ทราบชื่อ ทราบเพียงว่าหนึ่งในนั้นมีพี่สาวชื่อว่า จาด หลวงพ่อเนียมเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2370 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านป่าพฤกษ์ ต.ตะค่า อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาท่านบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุครบเกณฑ์อุปสมบท จึงอุปสมบท (สันนิษฐานว่าเป็นวัดป่าพฤกษ์ อันเป็นวัดบ้านเกิดใกล้บ้านท่าน) ภายหลังได้ศึกษาพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร (ดังปรากฏหลักฐานนามท่านในบัญชีรายนามพระภิกษุที่จำวัดมหาธาตุฯ) และสันนิษฐานกันว่าท่านเคยไปพำนักจำพรรษา ศึกษาวิชาความรู้จากวัดระฆังโฆษิตาราม ในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังษี) อีกด้วย กระทั่งเมื่อมีอายุประมาณ40ปีจึงเดินทางกลับบ้านเกิดจำพรรษาอยู่วัดรอเจริญ เกิดขัดกับเจ้าอาวาส สุดท้ายจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดน้อย บูรณปฏิสังขรณ์วัดน้อยจากวัดร้าง ให้เป็นวัดที่เจริญขึ้นมาใหม่ หลวงพ่อเนียมมีความสนใจในทางวิปัสสนาธุระ ท่านช่วยให้การศึกษาแก่ศิษยานุศิษย์อย่างเต็มที่ ท่านมีชื่อเสียงในการรักษาโรคต่าง ๆ สามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆข้างหน้าได้อย่างตาทิพย์ การถ่ายรูปท่านว่ากันว่าถ่ายไม่ติด พระเณรที่ประพฤติผิดวินัย ท่านสามารถทราบได้เองโดยไม่ต้องมีใครมาบอกท่านมีเรื่องเล่าในกฤษดาภินิหารต่างๆ ท่านเป็นผู้ที่ความเมตตาต่อสัตว์ทุกชนิด กิจวัตรของท่านก็คือ ตื่นแต่เช้ามืด ครองจีวรแล้วปลงอาบัติ เสร็จแล้วนั่งสนทนากับพระภิกษุในวัดเป็นการอบรมไปในตัว พ่อรุ่งเช้าจึงออกบิณฑบาตโปรดญาติโยม กลับมาฉันภัตตาหาร แล้วจะนำอาหารไปเลี้ยงสัตว์ต่างๆที่เข้ามาพึ่งพาอาศัยวัด ท่านมรณภาพในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริอายุได้ 80 ปี อยู่ในสมณเพศได้ 60 พรรษา ประชุมเพลิงศพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2451 โดยมีพระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) สมัยคุมมณฑลนครชัยศรี และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี มาในงานด้วย ในด้านพระเครื่องนั้นเป็นที่โดงดังทั้วสารทิศ เป็นที่รู้จักทั้งในและนอกวงการพระเครื่อง ว่ามีคุณวิเศษมากมายในด้านแคล้วคลาด คงกระพันและเมตตามหานิยม โดยการสร้างพระในสมัยก่อนการทำปรอทให้แข็งไม่ใช่ของง่ายนัก ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคม ทั้งต้องทำในฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น เพราะพืชบางอย่าง เช่น ใบแตงหนู ซึ่งขึ้นในท้องนา จะขึ้นในฤดูฝน ส่วนผสมต่างๆ มีใบสลอด, ข้าวสุกหลวงพ่อท่านเอาของสามอย่างมาโขลกปนกันเพื่อไล่ขี้ปรอทออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปรอทขาวที่สุด การโขลกจะต้องโขลกและกวนอยู่ถึง ๗ วัน จึงจะเข้ากัน พอครบ ๗ วันเอาไปตากแดดเสร็จแล้วนำเอาไปกวนต่อจนเข้ากันดี จึงทำการแยกชั่งเป็นส่วน ๆ ส่วนละหนึ่งบาทต่อจากนั้นเอาไปใส่ครกหิน เติมกำมะถันและจุนสีโขลกตำให้เข้ากัน โดยใช้เวลาทำตอนกลางคืนเท่านั้น ทำเช่นนั้นอยู่ ๓ คืนจึงเอาปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไฟสุมอยู่ถึง 7 วัน บางครั้งอุณหภูมิ สูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหายก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนทำพิธีปลุกเสกด้วยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟเทลงในแม่พิมพ์จึงจะได้พระตามที่ต้องการของท่าน โดยมีพิมพ์ที่นิยมกันเป็นสากลได้แก่ 1.เศียรโล้น 2.เศียรแหลม 3.งบน้ำอ้อย 4.ประธานเล็ก-ใหญ่ 5.พระเจ้า 5 พระองค์ 6.พระปิดตา 7.พระถ้าเสือ 8.ปรุหนัง 9.ลูกสะกด+ตะกรุดโทน

ผู้เข้าชม
273 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
เป้พิมาย
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
0802188361
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 069-0-34788-5

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ทองธนบุรีเจริญสุขเปียโนtermboonหนึ่ง ทุ่งสงมงคลเก้า
หริด์ เก้าแสนokpraเทพจิระakenongear48พีพีพระเครื่องBAINGERN
บ้านพระหลักร้อยpratharn_pพระเครื่องโคกมนchathanumaanpoop2015บ้านพระสมเด็จ
หมี คุณพระช่วยSpidermanกรัญระยองบี บุรีรัมย์โกหมูdigitalplus
aofkolokchaokohnatthanetโจ้ ลำนารายณ์NongBossps.aek

ผู้เข้าชมขณะนี้ 439 คน

เพิ่มข้อมูล

๙๙๙ พระหลวงพ่อเนียม พิมพ์เศียรโล้น วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ๙๙๙




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
๙๙๙ พระหลวงพ่อเนียม พิมพ์เศียรโล้น วัดน้อย จ.สุพรรณบุรี ๙๙๙
รายละเอียด
หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านเป็นชาวสุพรรณบุรีโดยกำเนิด บิดาเป็นชาวบ้านซ่อง ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาเป็นชาวบ้านป่าพฤกษ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ชื่อว่า เนื่อง หลวงพ่อเนียมมีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันหลายคน แต่ไม่ทราบชื่อ ทราบเพียงว่าหนึ่งในนั้นมีพี่สาวชื่อว่า จาด หลวงพ่อเนียมเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2370 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านป่าพฤกษ์ ต.ตะค่า อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาท่านบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุครบเกณฑ์อุปสมบท จึงอุปสมบท (สันนิษฐานว่าเป็นวัดป่าพฤกษ์ อันเป็นวัดบ้านเกิดใกล้บ้านท่าน) ภายหลังได้ศึกษาพระธรรมวินัยและมูลกัจจายน์ ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร (ดังปรากฏหลักฐานนามท่านในบัญชีรายนามพระภิกษุที่จำวัดมหาธาตุฯ) และสันนิษฐานกันว่าท่านเคยไปพำนักจำพรรษา ศึกษาวิชาความรู้จากวัดระฆังโฆษิตาราม ในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังษี) อีกด้วย กระทั่งเมื่อมีอายุประมาณ40ปีจึงเดินทางกลับบ้านเกิดจำพรรษาอยู่วัดรอเจริญ เกิดขัดกับเจ้าอาวาส สุดท้ายจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดน้อย บูรณปฏิสังขรณ์วัดน้อยจากวัดร้าง ให้เป็นวัดที่เจริญขึ้นมาใหม่ หลวงพ่อเนียมมีความสนใจในทางวิปัสสนาธุระ ท่านช่วยให้การศึกษาแก่ศิษยานุศิษย์อย่างเต็มที่ ท่านมีชื่อเสียงในการรักษาโรคต่าง ๆ สามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆข้างหน้าได้อย่างตาทิพย์ การถ่ายรูปท่านว่ากันว่าถ่ายไม่ติด พระเณรที่ประพฤติผิดวินัย ท่านสามารถทราบได้เองโดยไม่ต้องมีใครมาบอกท่านมีเรื่องเล่าในกฤษดาภินิหารต่างๆ ท่านเป็นผู้ที่ความเมตตาต่อสัตว์ทุกชนิด กิจวัตรของท่านก็คือ ตื่นแต่เช้ามืด ครองจีวรแล้วปลงอาบัติ เสร็จแล้วนั่งสนทนากับพระภิกษุในวัดเป็นการอบรมไปในตัว พ่อรุ่งเช้าจึงออกบิณฑบาตโปรดญาติโยม กลับมาฉันภัตตาหาร แล้วจะนำอาหารไปเลี้ยงสัตว์ต่างๆที่เข้ามาพึ่งพาอาศัยวัด ท่านมรณภาพในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริอายุได้ 80 ปี อยู่ในสมณเพศได้ 60 พรรษา ประชุมเพลิงศพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2451 โดยมีพระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) สมัยคุมมณฑลนครชัยศรี และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกศาจารย์ เจ้าคณะมณฑลนครชัยศรี มาในงานด้วย ในด้านพระเครื่องนั้นเป็นที่โดงดังทั้วสารทิศ เป็นที่รู้จักทั้งในและนอกวงการพระเครื่อง ว่ามีคุณวิเศษมากมายในด้านแคล้วคลาด คงกระพันและเมตตามหานิยม โดยการสร้างพระในสมัยก่อนการทำปรอทให้แข็งไม่ใช่ของง่ายนัก ว่ากันว่าต้องใช้คาถาอาคม ทั้งต้องทำในฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น เพราะพืชบางอย่าง เช่น ใบแตงหนู ซึ่งขึ้นในท้องนา จะขึ้นในฤดูฝน ส่วนผสมต่างๆ มีใบสลอด, ข้าวสุกหลวงพ่อท่านเอาของสามอย่างมาโขลกปนกันเพื่อไล่ขี้ปรอทออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปรอทขาวที่สุด การโขลกจะต้องโขลกและกวนอยู่ถึง ๗ วัน จึงจะเข้ากัน พอครบ ๗ วันเอาไปตากแดดเสร็จแล้วนำเอาไปกวนต่อจนเข้ากันดี จึงทำการแยกชั่งเป็นส่วน ๆ ส่วนละหนึ่งบาทต่อจากนั้นเอาไปใส่ครกหิน เติมกำมะถันและจุนสีโขลกตำให้เข้ากัน โดยใช้เวลาทำตอนกลางคืนเท่านั้น ทำเช่นนั้นอยู่ ๓ คืนจึงเอาปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไฟสุมอยู่ถึง 7 วัน บางครั้งอุณหภูมิ สูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหายก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนทำพิธีปลุกเสกด้วยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟเทลงในแม่พิมพ์จึงจะได้พระตามที่ต้องการของท่าน โดยมีพิมพ์ที่นิยมกันเป็นสากลได้แก่ 1.เศียรโล้น 2.เศียรแหลม 3.งบน้ำอ้อย 4.ประธานเล็ก-ใหญ่ 5.พระเจ้า 5 พระองค์ 6.พระปิดตา 7.พระถ้าเสือ 8.ปรุหนัง 9.ลูกสะกด+ตะกรุดโทน

ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
274 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
เป้พิมาย
URL
เบอร์โทรศัพท์
080-2188361
ID LINE
0802188361
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 069-0-34788-5




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี